ฟังในรูปแบบ Podcast กับ IndyBook’s Podcast


คนที่เป็นผู้ประกอบการต้องเป็นคนที่มองเห็นโอกาสบางอย่างที่คนอื่นมองไม่เห็น

เส้นทางในช่วงเริ่มต้นมักโดดเดี่ยวและต้องการกำลังใจไม่น้อย บางคนต้องเดินทางคนเดียวเพราะคนรอบข้างไม่เห็นด้วย มีแรงฉุดมากกว่าแรงส่ง บางครั้งต้องตัดสินใจเดินหน้าเพียงลำพัง ซึ่งการเดินทางลำพังคงจะเหงาเหมือนกัน แต่ถ้าหาเพื่อนร่วมทางที่ตรงจริตตรงใจไม่ได้ การเลือกเดินทางคนเดียวน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า..

วันนี้มี 4 แนวทางที่จะช่วยให้คุณเริ่มต้นที่จะเป็นผู้ประกอบการ เพื่อช่วยความฝันของคุณเดินหน้าต่อไปได้ครับ

“ทดลองทำ” ไม่มีคำว่าล้มเหลว

หนังสือพัฒนาทุกเล่มมักกล่าวถึงการกำหนดเป้าหมาย แน่นอนว่าคนเราจะทำอะไรสำเร็จได้ต้องเริ่มจากเป้าหมายก่อน
แต่ใช่ว่าทุกคนเกิดมาพร้อมกับเป้าหมายที่แน่ชัด ถ้าคุณค้นพบเร็วเป็นเรื่องที่ดี เพราะคุณจะสามารถล๊อกเป้าและเดินหน้าอย่างเด็ดเดี่ยว แต่ถ้าไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องทำคือ “ทดลองทำ” ถ้าไม่ใช่ก็แค่เปลี่ยนไปทำสิ่งใหม่ จำไว้ว่า “การลองทำ” ไม่มีคำว่าล้มเหลว

ไม่ต้องปรึกษาใครก็ได้

ในช่วงเริ่มก่อการอย่าเพิ่งไปปรึกษาใครจะดีกว่า ถ้าคนที่เราไปขอความคิดเห็นไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จที่แท้จริงในเรื่องนั้น ๆ ทดลองทำตามสิ่งที่เราคิดเลยจะดีกว่า

ผมขอยกตัวอย่างหลักเกณฑ์การขอคำปรึกษาจากคนอื่น จากหนังสือ Principle ละกันนะครับ

“ความคิดเห็นที่น่าเชื่อถือส่วนใหญ่มาจากคนสองประเภท คือ

  1. คนที่ประสบความสำเร็จในเรื่องที่ต้องตัดสินใจอย่างน้อยสามครั้ง
  2. คนที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของเหตุและผลที่นำมาสู่ข้อสรุปของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

มาขยายความกันอีกสักนิดนะครับ

  1. การจะถามใครสัก 1 คำถาม เขาจะให้มากกว่า 1 คำตอบ อย่าตั้งคำถามกับคนที่ไม่มีข้อมูลหรือไม่มีความน่าเชื่อถือ แล้วก็ได้คำตอบตามที่เขาเชื่อ ซึ่งแย่กว่าการไม่ได้รับคำตอบเลยเสียอีก อย่าทำผิดพลาดอย่างนั้นจงคิดถึงคนที่เหมาะสม
  2. การสุ่มถามทุกคนเป็นเรื่องเสียเวลาและไม่ก่อผล อย่าสุ่มถามคนที่ไม่ได้รับผิดชอบหรือโยนคำถามแบบไร้ทิศทาง
  3. ระวังคำพูดที่ขึ้นต้นด้วย “ฉันคิดว่า” เพราะเขาคิดไม่ได้หมายความว่า เขาคิดถูกต้อง
  4. ประเมินความน่าเชื่อถือโดยตรวจสอบประวัติผลงานที่ผ่านมาของเขาอย่างเป็นระบบ

คนส่วนใหญ่เวลาคิดจะทำอะไรก็เริ่มต้นจากถามคนใกล้ตัวเช่นเพื่อน แฟน พ่อแม่ และถามไปเรื่อย ๆ และได้แค่ความคิดเห็น เช่น ทำไม่ได้หรอก คนทำเยอะแล้ว เห็นคนโน้นทำแล้วล้มเหลว สุดท้ายก็ไม่ได้เริ่มทำอะไรสักที

เริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ แล้วค่อยปรับกันไป

ลองถามผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จว่าสินค้าตัวแรกที่เขาเริ่มต้นทำธุรกิจคืออะไรแล้วคุณจะประหลาดใจ เพราะไม่ใช่ว่าสิ้นค้าหรือบริการตัวแรกของผู้ประกอบการเหล่านั้นจะประสบความสำเร็จในทันที ล้วนปรับเปลี่ยนปรับปรุงมาหลายครั้งแล้ว

เพราะฉะนั้นจะอะไรก็ทำเลย เพราะธุรกิจมันจะมีปัญหาหน้างานเข้ามาเรื่อย ๆ อยู่แล้ว สุดท้ายอาจจะปรับเปลี่ยนรูปแบบ เปลี่ยนตัวสินค้าหรือบริการไปอีกทางก็ได้ใครจะไปรู้

แนะนำว่าให้เริ่มให้เริ่มให้เร็ว แต่ลงทุนให้น้อย จำกัดความเสี่ยงให้เท่าที่ยอมรับรับได้ เอาเป็นว่าถ้าเงินส่วนนี้เสียไปก็ไม่เดือดร้อนมากมายถึงขัดล้มละลาย..

ต้อง “จำกัดความเสี่ยง” ไม่ใช่ “กำจัดความเสี่ยง”

คำสองคำนี้ฟังดูคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน ถ้ามุ่งเน้นไปทางการ “กำจัดความเสี่ยง” ทั้งหมด รับรองคงไม่ได้เริ่มทำอะไรสักที ผู้ประกอบการควรโฟกัสที่เรื่องของการ “จำกัดความเสี่ยง” จะดีกว่าเพราะการทำธุรกิจเป็นเรื่องของการคาดการณ์อนาคต ซึ่งมีมีใครทำนายได้ถูกต้อง 100%

และจำไว้ว่าความเสี่ยงของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน เช่นคนที่มีลูกมีเมียมีค่าใช้จ่ายในบ้านที่ต้องรับผิดชอบ แต่ดันลาออกจากงาน เอาเงินเก็บทั้งหมดมาลงกับธุรกิจก็คงไม่ดีแน่ ถ้าในลักษณะนี้การเริ่มต้นธุรกิจควรเริ่มจากการทำในช่วงเสาร์-อาทิตย์หรือตอนเย็นหลังเลิกงาน จนกว่ารายได้จะมากกว่างานประจำ 2-3 หรือมีกำไรชนะรายได้จากงานประจำก็ค่อยมาพิจารณาอีกทีครับ

เอาเป็นว่าความเสี่ยงของแต่ละคนก็ประเมินกันดี ๆ ครับ

4 ข้อที่ผ่านว่าไม่ว่าจะเป็น การทดลองทำ, ไม่ต้องปรึกษาคนที่ไม่ควรปรึกษา, เริ่มเล็ก ๆ, หรือการกำจัดความเสี่ยง เป็นแนวทางเบื้องต้น เพื่อให้เราสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้สักที แต่การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้นยังต้องอาศัยปัจจัยอีกหลายอย่างเช่น กำลังใจ ความมุ่งมั่น อดทน มีวินัย เป็นต้น

ขอบคุณที่ติดตาม สวัสดีครับ