หนังสือเล่มนี้เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องการทำอาชีพเสริม หารายได้พิเศษหลังเลิกงานผู้ไม่อยากทำงานประจำอีกต่อไป ใช้ความสามารถที่เรามีในการสร้างเงินสร้างงานด้วยตนเอง หรือผู้ที่เป็นฟรีแลนซ์อยู่แต่มึนงงกับปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เงิน และเวลา

เขียน โยอิจิ อิโนะอุเอะ
แปล มนชนก มากบุญประสิทธิ์

ผู้เขียนคุณโยอิจิ อุโนะอุระ เคยทำงานที่สำนักงานสถิติ กระทรวงมหาดไทยของญี่ปุ่น เขาไม่ชอบวัฒนธรรมที่เชิดชูคนทำโอที จนวันหนึ่งเกิดความคิดว่า “สิ่งที่เราอยากทำคือทำงานในองค์กรจนตายงั้นหรือ”? แต่พอออกมาแล้วก็พบกำแพงใหม่ขวางกันอยู่เบื้องหน้า ภาพอุดมคติที่ว่า “มีอิสระแล้ว” พังทลายลงในพริบตา วันเวลาที่ต้องใช้ชีวิตโดยมี “งาน เวลา เงิน” รุมเราดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนกระทั้งได้เปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่…

คว้าอิสรภาพที่แท้จริงในฐานะ “ฟรีแลนซ์”

(ผมขอเล่าในส่วนที่ผมชอบและคิดว่ามีประโยชน์สำหรับเพื่อน ๆ ทุกท่านนะครับ]

[บทที่ 1 “กฎเพื่อจะได้มีกินไปตลอดชีวิต” 8 ข้อ]

บอกเล่าเกี่ยวกับสภาพจิตในที่ควรเป็นเพื่อให้มีกินไปตลอดชีวิตในฐานะฟรีแลนซ์

ไม่ลำบากเรื่องงานอีกต่อไปอีกตลอดชีวิตกุญแจคือ “ขยายอิทธิพลให้กว้างขึ้น”
โดยต้องคิดว่า “คุณทำงานโดยมีเป้าหมายเป็นอะไร” ไม่ใช่คิดแต่ว่ามีงานเพิ่มขึ้นก็พอ ทำอะไรก็ได้ แต่ต้องนำเสนอความแตกต่าง การตลาดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สิ่งสำคัญไม่ใช่ขนาดแต่เป็นอิทธิพล..

ตั้งเป้าหมายที่ “กล้าปฏิเสธงาน” ไม่ใช่ “รับงานเพื่อให้มีกิน”
ลองท้าทายกับงานใหม่ หรือเตรียมตัวรับความเสี่ยงต่าง ๆ ใหพร้อมดีกว่า คือ อดมคติขั้นสูงของฟรีแลนซ์

ถึงจะหาเงินได้เท่าไหร่ก็ลบความกังวลไปไม่ได้
ในความเป็นจริงเราไม่สามารถหาเงินแบบพรวดพราดได้อยู่แล้ว เรื่องนี้ต้องตระหนักเอาไว้ ในเมื่อเลิกกังวลไม่ได้ เราต้องควบคุมความกังวลนั้นไว้ให้ดี

ถ้าเก็บเงินไม่ได้ ก็เปลี่ยนกระแสการไหลของเงินใหดีขี้น
“สร้างรายได้ -> ลงทุน -> เติบโตขี้น”

สร้างพลังสำหรับฟรีแลนซ์ 3 อย่างติดตัว
พลังสร้างงาน คือต้องมีแหล่งงานจำนวนมาก
พลังในการบอกเล่าเรื่องตัวเองออกไป คือทำให้ตัวเองเป็นที่รู้จัก ทำให้ลูกค้าเลือก
พลังในการหมุนเงิน คือแทนที่จะสะสมเงิน สู้ให้กระแสเงินดีขึ้นดีกว่า เช่นการใช้เงินไปกับการลงทุนการพัฒนาตัวเองโดยตรง

ทิ้งความคิดแบบพนักงานกินเงินเดือน

  • ตระหนกว่า “มีเรื่องที่ทำไม่ได้”
  • รักษาสัญญาที่ให้ไว้กับตัวเอง
  • ให้ความสำคัญกับความเร็วของงาน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

เวลาสำคัญกว่าเดิม              

เวลาถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง เงินเราสามารถหาเอาทีหลังได้แต่เวลาไม่ได้ได้ สุดท้ายเรามุ่งหวังสภาพ “มีงานที่อยากทำเข้ามาไม่ขาดสาย มีเงินพอใช้พอเก็บสบาย และมีเวลา”

คนเราไม่ค่อยมีใครคิดว่า “ถ้าทำงานให้มากกว่านี้ก็ดีสิ” ก่อนตายหรอกครับ แต่ผมได้ยินความเจ็บใจอย่าง “ถ้าใช้เวลาอยู่กับครอบครัวให้มากกว่านี้ก็ดีสิ” “ถ้าไปเที่ยวให้เยอะกว่านี้ก็ดีสิ”

[บทที่ 2 สร้าง “งานที่มีเพียงคุณเท่านั้นที่ทำได้” ขึ้นมาเยอะ ๆ กันเถอะ]

ต้องมีเสาค้ำหลายต้น
คือการทำงานหลากหลายไม่ยึดติดกับลูกค้าใหญ่เจ้าใดเป็นพิเศษถ้ามีปัญหาขึ้นมาเราจะแย่

ประโยชน์ 4 ข้อจากการมีเสาค้ำหลายต้น

  1. ไม่จำเป็นต้องรวบรวมลูกค้า
  2. ก่อเกิดผลลัพธ์แบบทวีคูณ
  3. ขัดเกลาตัวเอง
  4. ป้องกันความเสี่ยง

นำจุดแข็งมากว่า 2 ข้อมาประสานเข้าด้วยกัน
การรวมจุดแข็งเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างงานที่มีแต่เราเท่านั้นทำได้

“งานสอน” ในฐานะตัวเลือก
ต่อให้ IT และอินเตอร์เน็ตพัฒนาไปมากแค่ไหน คนแต่ละคนก็อยากทำงานได้ด้วยตัวเอง มันคือความต้องการที่ว่า “อยากทำเองไม่ต้องไปจ้างงานใคร จึงอยากให้ช่วยสอนทักษะต่าง ๆ” ความต้องการด้านนี้หลังจากนี้น่ามีมากขี้นเรื่อย ๆ นะครับ

สิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับใช้สอนคือการจัดระเบียบความคิด (ความรู้ ทักษะ) ของตัวเอง

เลือกงานอย่างมีแผนการ

  1. งานที่มีอิทธิพลสูง คืองานที่สามารถนำไปใส่ในพอร์ตเป็นผลงานได้
  2. งานที่ค่าตอบแทนต่อชิ้นสูง
  3. งานที่ทำให้ลูกค้าดีใจ
  4. งานที่มีแต่ตัวเราเท่านั้นที่ทำได้
  5. งานที่ทำแล้วสนุก
  6. งานที่ทำแล้วตัวเองเติบโต

ปฏิเสธงานให้เป็น
รักษากฎที่ตัวเองกำหนดให้แน่วแน่ไม่หักหลังตัวเองและรักษาความต้องการภายในของตัวเองเอาไว้เป็นสิ่งสำคัญ

มองสมดุลงานจาก 6 มุมมอง

  1. งานที่ช่วยขัดเกลาตัวเอง หรืองานที่เพื่อให้มีกินมีใช้เท่านั้น
  2. งานที่ไม่ได้เงินหรืองานที่ได้เงิน
  3. งานต่อเนื่องหรืองานปลีกย่อย
  4. งานที่เลือกเวลาได้ งานที่เลือกเวลาไม่ได้
  5. ราคาแพง ราคาถูก
  6. ทำงานกับบุคคลหรือนิติบุคคล

ทำอย่างไรไม่ให้โดนใช้งานฟรี

  • ขีดเส้นแบ่งระหว่างของที่มีค่าใช้จ่ายกับของฟรีให้ชัดเจน
  • เราไม่ได้หากินกับทรัพย์สมบัติในอดีต
    ราคาไม่ได้กำหนดจากตัวสินค้าหรือบริการ แต่กำหนดว่ามีประโยชน์หรือไม่ “ช่วยให้เกิดประโยชน์หรือไม่ตางหาก”
  • วิธีการคิดราคาแบบมีค่าใช้จ่ายและฟรี
    โดยการตีเส้นระหว่างของที่มีค่าใช้จ่ายกับของฟรีให้ชัดเจน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือลิสรายการที่ต้องจ่ายเงินและใส่ราคาให้แต่ละรายการให้ชัดเจน

[บทที่ 3 “แผนการต่อสู้ผ่านสื่อของตัวเอง” เรียกงานที่อยากทำให้ลอยมาหา]

วิธีการนำเสนอสินค้าที่เรียกว่าตัวเอง
วิธีการที่ได้ผลอย่างหนึ่งคือการที่มีสื่อของตัวเอง คำว่าสื่อในที่นี้หมายถึงสื่อทางอินเตอร์เน็ตที่สามารถสื่อสารไปได้ทั่วโลก แต่ถ้าไม่มีคนเข้าดูก็เหมือนไม่ได้มีอยู่นั่นหละ ดังนั้นมาเผยแพร่ตัวตนของคุณให้โลกรู้จักกันเถอะ

สื่อของตัวเองเช่น บล็อก เว็บ แต่สิ่งที่สำคัญขาดไม่ได้คือการติดต่อนัดหมาย พบกันก็เป็นสิ่งจำเป็น แต่ถ้ามีสื่อจะช่วยให้ลูกค้ารู้จักงานของเรา ทำให้เราและลูกค้าไม่เสียเวลาโดยไม่จำเป็น

แผนการต่อสู้โดยใช้บล็อกเป็นแกนกลาง
บล็อกในฐานะ “ทรัพย์สิน” อาจจะดู “เก่า-ใหม่” “กำลังฮิต-ไม่ฮิต” ไม่ใช่ประเด็น แต่เราควรแบ่งการใช้ออกตามลักษณะเฉพาะตางหากโดยใช้บล๊อกเป็นหลัก ส่วน Twitter Facebook ใช้เป็นเครื่องมือในการกระจายข้อมูล

บล็อกมีภาพลักษณ์เก่าคร่ำครึ แต่เปรียบเทียบกับสื่อต่าง ๆ มันจะกลายเป็นสินทรัพย์ได้ บทความที่เขียนสั่งสมเก็บไว้จะค้นพบจากในทะเลกว้างใหญ่ชื่อว่า “อินเตอร์เน็ต”

พื้นฐานของบล็อกคือการนำเสนอคุณค่า
เขียนเป็นไดอะรี่ ไม่ได้เด็ดขาด การทำบล็อกโดยมีจุดประสงค์ “เพื่อให้ได้รับเลือก”
หากแบ่งบล็อกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ แบบไดอะรี่ แบบรวบรวมลูกค้า และแบบนำเสนอคุณค่า
รูปแบบการนำเสนอคุณค่าผ่านบล๊อกและมุ่งหมายให้กลายเป็นบล๊อกที่คนอ่าน และมุ่งเน้นในการแสดงคุณค่าเต็มรูปแบบ

นำเสนอวิธีคิด
เนื่องจากอินเตอร์เน็ตทำใหข้อมูลต่าง ๆ ถูกค้นหาอย่างง่ายดาย เราไม่ได้นำเสนอความรู้ แต่เป็นการนำเสนอวิธีคิดและตัวตนตางหาก
“วิธีคิด” นั้นแหละเป็นส่วนที่สร้างความแตกต่าง ใคร ๆ ก็สามารถแพร่ข้อมูลออกมาได้แต่หากนำเสนอข้อมูลโดยเสริมเอกลักษณ์ไว้ด้วยย่อมเลียนแบบกันไม่ได้ง่าย ๆ

สิ่งสำคัญในการสร้างเนื้อหาบล็อก

  • ไม่ใช่สิ่งใหม่ที่สุด แต่เขียนให้ลึกที่สุด
  • เขียนสิ่งที่เคยลำบากหรือถูกถาม
  • สิ่งที่ได้อินพุทมา เช่นจากการอ่าน การฟังเป็นต้น

ทำอย่างต่อเนื่องแม้ยอดเข้าชมไม่เพิ่ม
ก่อนอื่นลองทำสัก 1 ปีแม้ยอดเข้าชมไม่เพิ่มก็ให้ทำต่อไปเรื่อย ๆ เหมือนเดิม แม้ผลงานจะออกมาไม่ดีก็ไม่เป็นไรไม่ต้อง “เร่งจนลน” แต่ “ทำอย่างต่อเนื่อง”

พื้นฐานและการฝึกฝนทักษะการเขียนบล๊อก
สร้างความแตกต่างแม้เป็นเรื่องเล็กน้อย

  • เขียนตอนจบประโยคให้ต่างกัน ไม่น่าเบื่อ
  • เขียนให้สั้นที่สุดเท่าที่ทำได้
  • เว้นบรรทัด
  • ใส่คำดึงดูดสายตา
  • นุ่มนวลแต่แข็งแกร่งในเวลาเดียวกัน
  • สะกดผิดพิมพ์ตกไว้แก้ทีหลัง
  • บันทึกประจำวันเขียนเป็น ปัจฉิมลิขิต
  • ไม่เขียนบทความเรื่องเดียวกัน
  • ไม่สนใจคำวิจารณ์
  • ไม่เรียกร้องหาความสำบูรณ์แบบ
  • สามารถตอกหน้าตัวเองกลับได้หรือไม่

สิ่งที่ต้องเขียนไว้ในบล็อก

  • โปรไฟล์
  • ผลงานจริง
  • แบบฟอร์ม สอบถาม

[บทที่ 4 “วิธีการใช้เงินในเกิดประโยชน์อย่างฟรีแลนซ์มืออาชีพ”]

ขยายกระแสการไหลของเงินให้ใหญ่ขี้น

กฎพื้นฐานเพื่อหมุนเงิน

  1. ลงทุนให้ตัวเองอย่างกระตือรือร้น
  2. ลดค่าใช้จ่าย
  3. ลดภาษี

ลงทุนให้ตัวเองกับทักษะ 3 อย่าง
“เขียน อ่าน พูด” สิ่งสำคัญสำหรับงานทุกอย่าง
สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดสำหรับฟรีแลนซ์ ไม่ใช่ “ลดจำนวนเงินที่จ่ายออกไป” แต่เป็นการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ

จุดที่ไม่ควรต้องเสียเงิน จุดที่ต้องเสียเงิน

  • ไม่ทำสัญญาเช่าชื้อ ที่ต้องจ่ายเงินต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ถึง 5 ปี
  • ไม่สร้างภาพ โอ่อ่า
  • ไม่ใช้เงินกับ “ค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้า”
  • การตีพิมพ์หนังสือด้วยงบประมาณของตัวเองเป็นการจมทุน

ใช้เงินกับเรื่องนี้

  • ใช้เงินกับคน ความสัมพันธ์ที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ระหว่างกันจะลึกซึ้งแถมเราอาจจะได้รับการไหว้วานให้ทำงานด้วยกัน
  • อย่าลืมลงทุนกับสุขภาพที่ดี

อย่างเขียมกับการลงทุนใน IT
อุปกรณ์ที่ควรลงทุน เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุคน้ำหนักเบาแต่ประสิทธิภาพดี, สมาร์ทโฟน บางครั้งก็เพียงพอสำหรับการทำงานในบางเรื่อง , อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง , สแกนเนอร์ , จอสำหรับแสดงผล 2 จอ, Dropbox เป็นต้น

สร้างตารางย้อนดูเงินทุก 6 เดือน
ต้องรู้เสมอว่า “ตอนนี้มีเงินอยู่เท่าไหร่” หลังจากนี้จะมีเงินเข้าออกเท่าไหร่

อย่าลือทำความเข้าใจเรื่องภาษีและไม่ฝากผู้อื่นทำอีกต่อไป


เป็นยังไงบ้างครับสำหรับเนื้อหาส่วนใหญ่ที่ผมได้สรุปจากหนังสือ “ว่างงานแต่ไม่ว่างเงิน” เชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อคนที่ประกอบอาชีพ ฟรีแลนซ์และผู้ที่ต้องการก้าวไปสู่อาชีพอิสระ อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนี้ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่มีประโยชน์มากมายเกินกว่าที่ผมจะมาสรุปไว้ ณ ที่นี้ได้

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมแนะนำให้ซื้อเล่มเต็ม ๆ มาอ่าน รับรองว่าอ่านสนุก ได้ความรู้ และเก็บไว้เป็นอ้างอิงได้คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปอย่างแน่นอนครับ

Mr.POP