ฟังเนื้อหาผ่าน Indybook’s Podcast

เขียน คะเมะดะ จุนอิชิโร

ความคิดเห็นของผู้เขียนบทความสำหรับอ่านสั่น ๆ

หลังจากที่ผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้และได้ลองเปลี่ยนกระเป๋าสตางค์ของตัวเองเป็นทรงยาว ตอนนั้นได้ตัดสินใจลงทุนซื้อกระป๋าสตางค์ทรงยาว ยี่ห้อ LV สีน้ำตาลลายหมากรุกเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว (เป็นรุ่นที่มีราคาย่อมเยาว์ที่สุดแบรนด์นี้ แต่ก็เกินฐานะไปหน่อยสำหรับผมในขณะนั้น)

กระเป๋าสตางค์ที่ผมใช้อยู่ในปัจจุบันใช้มาได้สัก 3-4 ปีแล้วสภาพยังดีและน่าใช้มากขึ้นครับ

เรื่องการเงินหลังจากได้เปลี่ยนกระเป๋าสตางค์ใบใหม่เรื่องการเงินก็ดีขึ้น มีเงินใช้ไม่ขาดมือ เลิกใช้เงินแบบเดือนชนเดือน กระแสเงินสดในแต่ละปีเป็นบวก แม่ในช่วงมรสุมชีวิตมีปัญหาต่าง ๆ เข้ามามากมาย เรื่องการเงินก็ยังประคองได้ดีครับ

สาเหตุเรื่องการเงินที่ดีขึ้นไม่ได้เกิดจากการใช้กระเป๋าสตางค์ทรงยาวราคาสูงแต่อย่างใด แต่เป็นการเริ่มต้นเปลี่ยนพฤติกรรม วิธีคิดเรื่องการเงิน พอเราใส่ใจเรื่องเงินเราจะเริ่มจัดระเบียบเริ่มวางแผนทำงบประมาณรายปี รายเดือน ทำให้ผมสามารถเห็นภาพรวมการเข้าออกทั้งหมดของตัวเอง “นิสัยเรื่องการใช้จ่ายเงินค่อย ๆ เปลี่ยนไป” แต่จุดเริ่มต้นคือการเปลี่ยนกระเป๋าสตางค์นี่หละครับ

คนที่ใช้เงินเป็นกับคนขี้เหนียวไม่เหมือนกัน
คนที่ใช้เงินเป็นไม่ใช่คนที่ไม่จ่ายอะไรฟุ่มเฟือยเลย แต่เค้ารู้สถานะการเงินของตัวเอง อะไรทำเป็นเรื่องสมควรต้องจ่ายก็จ่าย
ส่วนคนที่ขี้เหนียวคือคนที่เมือถึงเวลาที่สมควรต้องจ่ายแต่ไม่ยอมหรือไม่อยากจ่าย บางครั้งก็เสียโอกาสดี ๆ ในชีวิตได้เหมือนกัน


เนื้อหาในหนังสือที่น่าสนใจ
อาจจะยาวหน่อยสำหรับคนที่มีเวลาอ่าน…

หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือที่เกี่ยวกับการเลือกซื้อกระเป๋าสตางค์ แต่เป็นหนังสือสำหรับผู้ที่ต้องการบริหารเงินของตัวเอง สอนจัดการความรู้สึกและความคิดที่มีกับเงิน

การเคลื่อนไหวของเงินในมือคือรูปแบบของการดำเนินชีวิต แม้ว่าจะใช้เงินอย่างมีสติหรือไม่ก็ตาม คนที่ใช้เงินคือตัวเราเอง การออกไปของเงินจึงสะท้อนกับแนวคิดเกณฑ์การตัดสินใจ และรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนนั้น ๆ

“กฎ 200 เท่า” แค่เห็นกระเป๋าสตางค์ ก็รู้รายได้
ผลลัพธ์จากการคำนวณคือ “ราคากระเป๋าสตางค์ x 200” จะเท่ากับรายได้ต่อปีของเจ้าของกระเป๋าพอดี (จะสถิตของผู้เขียน ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีและมีโอกาสได้เห็นกระเป๋าสตางค์ของเจ้าของบริษัทจำนวนมาก)

ทำไมคนหาเงินเก่ง ถึงใช้กระเป๋าสตางค์ทรงยาว
กระเป๋าสตางค์ทรงยาวมีรูปทรงที่ดีต่อเงินและธนบัตรเป็นพิเศษ เวลาที่เราได้ธนบัตรใหม่มา กระเป๋าสตางค์ทรงยาวสามารถเก็บธนบัตรให้คงสภาพนั้นได้โดยไม่มีรอยพับ

บัตรสะสมแต้มคือรอยรั่วของเงิน
ข้อดีของการมีบัตรสะสมแต้มคืออาจจะได้ส่วนลดจากของที่เราซื้อหรือใช้แต้มแลกได้ ส่วนข้อเสียของการมีบัตรสะสมแต้มคือเราอาจะจะซื้อของที่ไม่จำเป็น เวลาหน้ามืดตามัวไปกับสิทธิพิเศษของบัตร การซื้อของเพราะถูกบัตรสะสมแต้มจูงจมูกนั้นตรงข้ามอย่างสินเชิงกับการควบคุมการเงินด้วยตนเอง กลับเป็นฝ่ายโดนควบคุมเสียนี่

ถ้าอยากประหยัดจงซื้อของแพง
การใช้ของราคาแพงนั้นจะทำให้เราใช้ของอย่างทะนุทนอม การใช้ของราคาแพงเพื่อป้องกันการใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย
บ่อยครั้งที่บ้านของคนไม่มีตังค์มีข้าวของเครื่องใช้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ อยู่เต็มห้องมากกว่าบ้านของคนมีตังเสียอีก

แยกเหรียญใส่กระเป๋าอีกใบ
คนที่มีตังจะพกกระเป๋าสตางค์สองใบไว้เก็บธนบัตรกับเหรียญแยกกัน (อันนี้ผมก็ทำแต่ตอนเริ่มต้นดูเหมือนกันมันจะไม่ค่อยสะดวกบ้างในการพกกระเป๋าสตางค์สองใบ แต่ใช้ไปสักพักก็เป็นธรรมชาติไปเองครับ)

คุณใช้จ่าย “เพื่อการบริโภค” , “ลงทุน” หรือ “ผลาน”
ถ้าเราใช้ชีวิตและมีค่าใช้จ่าย บริโภค (ค่าอาหาร ค่าไฟ เสื้อผ้า เป็นต้น) กับการผลาน (เล่นเกมส์หยอดตู้ เติมเงินในเกมส์ออนไลน์ เป็นต้น) อย่างเดียวแนวโน้มทางการเงินก็จะมีแค่ทรง ๆ รอทรุดอย่างเดียวเลยครับ

การเปลี่ยนจากการบริโภคเป็นการลงทุนเช่น แทนที่เราจะทานอาหารแค่เพื่ออิ่ม แต่การทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง อีกตัวอย่างการซื้อปากกาหมึกซึมคุณภาพดีทำให้เรารักการเขียนและยังทำให้เขียนสนุกขึ้นอีกด้วย

*จงคำนึงวิธีการใช้จ่ายที่เปลี่ยนเป็นการลงทุนให้มากที่สุด อย่าให้การบริโภคจบลงที่การบริโภคเท่านั้น

กฎเหล็กของการซื้อของไม่ให้ขาดทุน
จงซื้อของที่ “เวลาเดือดร้อนเราจะสามารถนำไปขายต่อได้ในราคา 70 เปอร์เซ็นของราคาที่ซื้อมา”
การกระทำแบบนี้เป็นการบริโภคเช่นกัน แต่เป็นการบริโภคที่ไม่ปล่าวประโยชน์ เวลาเดือดร้อนก็อาจได้ผลตอบแทนกลับมาบ้าง

ความแตกต่างระหว่างคนที่เก็บเงินอยู่และเก็บเงินไม่อยู่
คือเรื่องของคลื่นอารมณ์ คนที่มีเงินจะมีคลื่นอารมณ์ค่อนข้างสงบ ไม่หลงระเริงเวลามีเงินเหลือหรือได้กำไรมาก และขณะเดียวกันก็ไม่ท้อแท้สิ้นหวัง เวลาหาเงินได้มาอย่างยากลำบาก และมีสติอยู่เสมอ

*หาเหตุผลในการเก็บเงิน เช่นการมีเงินจะทำให้เกิดอำนาจควบคุมชีวิตมากขึ้นมีอิสระในการเลือกมากขึ้น(การไม่มีทางเลือกในชีวิตคือการขาดอิสระภาพ)

ความแตกต่างระหว่างคนที่ตกเป็นทาสของเงินและไม่เป็นทาสของเงิน
คือสภาวะทางอารมณ์ในการประเมินจำนวนเงินที่มีอยู่ตอนนี้
คนที่เป็นทาสของเงินจะคิดว่ามีเงินอยู่แค่นี้เอง
คนที่ไม่เป็นทาสของเงินจะคิดว่ามีเงินเหลือตั้งเท่านี้ (มีสติปัญญาในการกำกับ)

จงเป็น “คนรวยที่มีความสุข”
สุดท้ายแล้วมนุษย์ ไม่เคยอยากเป็นคนรวยที่ไม่มีความสุข แค่ปรารถนาที่จะ “มีความสุข” เท่านั้นเอง
เงินจะให้รางวัลตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้อกับคนที่ใส่ใจมันในแบบที่ถูกที่ควร


สรุปสั้น ๆ

แน่นอนว่าการอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างเดียวไม่อาจช่วยให้เรามีสุขภาพทางการเงินที่ดีได้ แต่เราต้องเอาความรู้ที่มีไปปฏิบัติให้เหมาะสมกับบริบทของตัวเอง จงเปลี่ยนแปลงแบบทีละน้อยแต่สม่ำเสมอ จนสามารถเปลี่ยนนิสัยทางการเงินได้สำเร็จ

ที่สำคัญคือถ้าหาเงินมาได้ต้องใช้ครับแต่จะใช้อย่างไรก็ต้องฝึกฝนพัฒนาจนถึงเป้าหมายทางการเงินของตัวเองในที่สุด

แต่ถ้าไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงการเริ่มต้นมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้เริ่มจากการเปลี่ยนกระเป๋าสตางค์นี่หละง่ายที่สุด