ความเสี่ยง และ การจัดการกับความเสี่ยง

พูดถึง “ความเสี่ยง” ทำให้นึกถึงอะไรที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน(สำหรับผม) แต่จริงๆแล้ว ความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้นได้ทุกสถานการณ์ ตั้งแต่เริมเดินทางออกจากบ้าน หรือแม้แต่อยู่ที่บ้านก็ตาม

ตัวอย่างเช่น คุณเดินข้ามถนน ก็มีความเสี่ยงที่รถจะเสียหลักพุ่งเข้าชน , เข้าไปจีบหญิงก็มีความเสี่ยงที่จะถูกปฎิเสธ , กินข้าวก็มีความเสี่ยงที่จะท้องเสียเพราะอาหารไม่สะอาด , ลงทุนก็มีความเสี่ยงที่จะขาดทุน…

ถ้าอย่างนั้นเราไม่ทำอะไรเลยก็ไม่มีความเสี่ยง มันก็จริงอยู่ แต่ว่าถ้าไม่มีความเสีย่งเลยเท่ากับว่าผลตอบแทนก็น้อยไปด้วย ความเสี่ยงของการไม่ทำอะไรเลยเป็นความเสี่ยงที่มากกว่า นั้นคือ เวลาที่เสียไป เพราะเราไม่รู้ว่าเวลาที่เหลือในชีวิตแล้วจริงๆมีเท่าไหร่

ตลอดเวลาที่เราหยุดนิ่งไปกับที่ เท่ากับเราปล่อยเวลาให้สูญปล่าวไปโดยไร้ประโยชน์ ในขณะที่ใครบางคนก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง บางคนวิ่งอย่างรีบร้อน เจออุปสรรค์ปัญหา ความเสี่ยง ความผิดพลาด แต่ทุกคนก็ยังก้าวเดินไปข้างหน้า ระยะทางที่เข้าสู่จุดหมายก็เข้าใกล้ไปเรื่อยๆ

แล้วเราจะทำอย่างไรดีในการรับมือกับความเสี่ยง
แก้ปัญหาคือ “จำกัดความเสี่ยงให้อยู่ในเกณท์ที่ยอมรับได้” ไม่ใช่ไม่ยอมทำอะไรเลย
เช่น
ขับมอเตอร์ไซด์ก็ต้องใส่หมวกกันน๊อค ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุแล้วหัวกระแทกพื้น
ถามว่าคนใส่หมวกกันน๊อคแล้วเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต ก็มีแต่ความเป็นไปได้ก็ลดลงอย่างมีนัย

การลงทุน ก็จะต้องมีการศึกษาหาความรู้ หาขอมูลวิเคราะห์ ตามความจริง วางแผนเพื่อหาวิธีปฏิบัติอย่างเหมาะสม รอจังหวะเวลา ตั้ง stop loss โอกาสที่การลงทุนใดๆจะขาดทุนนั้นมี แต่ถ้าเกิดแล้วเราจะไม่ลำบากจนถึงขั้นล้มละลาย จะสามารถลุกขึ้นมาแล้วเริ่มใหม่ได้ ไม่ถึงกับพิกลพิการ
การลงทุนถ้าเริ่มต้นจากอายุน้อยๆมักจะได้เปรียบ เพราะทุกอย่างยังแข็งแรงยืดหยุ่น พร้อมที่จะลุกขึ้นมาเสมอ

การโอนถ่ายความเสี่ยง
การซื้อประกัน เป็นการโอนถ่ายความเสี่ยงไปยังผู้อื่น ในราคาต้นทุนที่เรายินดีจ่าย
เรายินดีจ่ายค่าประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อโอนความเสี่ยงไปยังไปบริษัทประกัน
ซื้อรถซื้อบ้านก็ต้องซื้อประกัน ไม่ว่าประกันชั้นหนึ่ง หรือประกันชีวิตกรณีผู้กู้เสียชีวิต ประกันจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามวงเงินประกัน ไม่ตกเป็นภาระของคนข้างหลัง

บริษัทประกันได้อะไร? คือได้ความเสี่ยงไป แต่ได้เงินที่เราจ่ายไปตอบแทน ยิ่งความเสี่ยงสูงก็ยิ่งมีแนวโน้มว่าค่าประกันจะสูงตามไปด้วย

“ความเสี่ยงคือต้นทุน”
ถ้าเราไม่เตรียมพร้อมรับมือ ป้องกันความเสี่ยง ให้อยู่ในเกณท์ ที่ยอมรับได้เท่ากับเอาชีวิตไปแขวนไว้บนเส้นด้าย
แต่ถ้าเราอยู่ในขอบเขตที่ปลอดภัยจนเกินไป เท่ากับว่าเราเพิ่มความเสี่ยงในการเสียโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนที่สูง

จำไว้เสมอว่า “high risk high return”